Back

ชาวออฟฟิศต้องรู้

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ?


สำหรับใครที่กำลังเข้าสู่วัยทำงาน และเตรียมสร้างอนาคตเป็นของตนเอง ก็ควรจะศึกษาเรื่อง​เกี่ยวกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เอาไว้ เพราะเป็นเรื่องที่เหล่าผู้มีรายได้จำเป็นต้องจ่ายกันทุกคน ​เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาจากความละเลยในหน้าที่ รวมถึงทำให้สามารถจัดทำบัญชีหรือ​เอกสารที่เกี่ยวข้องได้อย่างแม่นยำขึ้นนั่นเองค่ะ


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร ?

เป็นภาษีที่จะหักเงินจากรายได้ในทุก ๆ เดือน โดยเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของธุรกิจหรือผู้​จ่ายเงิน ในการตรวจสอบ และนำเงินเหล่านั้นส่งมอบให้ กรมสรรพากร ซึ่งบุคคลที่มีรายได้ตาม​เกณฑ์ของกรมสรรพากรกำหนดจะต้องส่งภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด. 90, 91 กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ​หรือ ภ.ง.ด. 50 กรณีเป็นนิติบุคคล) ในขณะที่ลูกจ้างก็ไม่ต้องรับภาระคอยเก็บเงินส่งเอง ให้​เป็นหน้าที่ของนายจ้างจัดการ แต่หากพบว่ามีการหักเกินไป ก็สามารถทำเรื่องขอคืนทีหลังได้​โดยไม่ผิดกฎหมาย


การคำนวนภาษี สำหรับชาวออฟฟิศ และมนุษย์เงินเดือน


การคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ เพียงแค่นำเงินเดือนทั้ง 12 เดือน มารวม​กัน และถ้าหากมีรายได้จากช่องทางอื่น อย่างเช่น รายได้พิเศษ หรือ ได้ปันผลจากหุ้น ก็ให้นำ​มาบวกเพิ่มเข้าไป พอได้ตัวเลขแล้วก็นำมาลบกับ ค่าใช้จ่ายตามกำหนดของกรมสรรพากร และ ​หักค่าลดหย่อน โดยออกมาเป็นสูตรดังต่อไปนี้


รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อนส่วนตัว - เงินประกันสังคม = รายได้สุทธิ


ซึ่งสามารถขยายความหมายของ ค่าใช้จ่าย, ค่าลดหย่อนส่วนตัว และ เงินประกันสังคม

ออกมาได้ดังต่อไปนี้


ค่าใช้จ่าย

ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา สรรพากรกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวน​เงิน 50% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท


ค่าลดหย่อนส่วนตัว

หักได้ในจำนวน 60,000 บาท ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ส่วนการหักลดหย่อนเพิ่มเติมใน​ด้าน ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัว ค่าประกันสุขภาพ การลงทุนเก็บออมระยะยาว รายจ่าย​ดอกเบี้ยสำหรับผ่อนชำระที่อยู่อาศัย หรือรายจ่ายอื่น ๆ ที่มีความจำเป็น จะขึ้นอยู่กับนโยบาย​ของรัฐบาลในแต่ละช่วง ว่าจะสามารถลดหย่อนภาษีอย่างไรได้บ้าง


เงินประกันสังคม

เมื่อบุคคลนั้นอยู่ในระบบของประกันสังคม ก็จะได้รับการลดหย่อนจากจำนวนเงินที่จ่ายเข้า​ประกันสังคมในแต่ละปี โดยไม่เกิน 9,000 บาท ต่อปี


พนักงานแบบไหนต้องหักภาษีแบบใด ?

ตามปกติแล้วบริษัทจะมีการจ้างพนักงานอยู่ 2 ประเภทได้แก่ พนักงานประจำ ที่สมัครมา​ทำงานประจำโดยรับค่าตอบแทนเป็น เงินเดือน กับ พนักงานจ้างชั่วคราวหรือฟรีแลนซ์ ที่รับ​เงินตามจำนวนงาน ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องหักภาษีแยกกันดังต่อไปนี้


พนักงานเงินเดือน

เป็นการจ้างแบบรับเงินต่อเนื่องที่มีความมั่นคง เพราะฉะนั้นพนักงานกลุ่มนี้จะถูกหักภาษีโดย​คิดแบบ อัตราก้าวหน้า


พนักงานฟรีแลนซ์

พนักงานที่ทำงานระยะสั้นหรือครั้งเดียวแล้วรับเงิน จะถูกหักภาษีโดยคิดแบบอัตราคงที่ ซึ่งจะ​หักเป็นรายครั้ง ณ การจ่ายเงินค่าจ้าง


การศึกษา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานออฟฟิศ ให้รับรู้ว่าเงินของตนเองที่​หายไปถูกหักอย่างถูกต้องหรือไม่ ขณะที่นายจ้างเองก็จะสามารถดำเนินธุรกิจอย่างไร้กังวล ​โดยไม่มีปัญหาตามมาภายหลังค่ะ


Copyright © 2022 MoneyMentor.biz. All rights reserved.

LinkedIn Logo 蓝白领英社交媒体
White Facebook Logo Social Media Icon
Camera Instagram Vector Icon