Back

เข้าใจความต่างระหว่าง

SSF RMF และ TESG



เปิดตัวออกมาได้ไม่นานสำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีตัวใหม่อย่าง TESG ซึ่งจะมีข้อแตกต่าง​กับ SSF และ RMF ที่มีให้บริการมาก่อนหน้านี้อย่างไร เราไปดูพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ


SSF RMF และ TESG คือ?


SSF (Super Saving Funds)

เป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ที่เริ่มให้บริการในปี 2563 ซึ่งคุณสมบัติพิเศษ​ของกองทุนนี้ คือผู้ที่ซื้อกองทุน SSF สามารถนำยอดซื้อมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคล​ธรรมดา อันเป็นกระบวนการที่ได้รับการอนุมัติจากทางรัฐบาล ให้ใช้ลดหย่อนแบบปีต่อปี ​ภายในระยะเวลา 2563-2567 โดยหลังจากนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของการคลัง


ลงทุนในส่วนไหนได้บ้าง

เนื่องจากเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นสูง ผู้สนใจจึงสามารถลงทุนในกองทุนที่ถือ​หลักทรัพย์ได้ทุกประเภทเลยค่ะ ไม่ว่าจะ กองทุนรวมผสม, ตราสารหนี้ หุ้นไทย หรือหุ้นต่าง​ประเทศ ก็ตัดสินใจได้ตามสะดวก



RMF (Retirement Mutual Fund)

เป็นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่จัดตั้งมาเพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนชาวไทย มี​เงินใช้เมื่อยามเกษียณผ่านการลงทุนแบบระยะยาว ภายใต้ข้อบังคับดังต่อไปนี้


- ลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี และต้องมีอายุครบ 55 ปี หากต้องการขายคืน

- กรณีที่ลงทุนไม่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี จะถือว่าผิดเงื่อนไขทันที


ลงทุนในส่วนไหนได้บ้าง

RMF เองก็มีตัวเลือกกองทุนที่ไม่ด้อยไปกว่า SSF เช่นกันค่ะ ไล่ตั้งแต่ ทองคำ ​อสังหาริมทรัพย์ หรือ หุ้นตราสารหนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเลือกลงทุนได้ทั้งในและต่างประเทศ​ได้อีกด้วย



TESG (Thailand ESG Fund)

หรือเรียกอีกอย่างว่า กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนโดยจะมุ่งเน้นไปในด้านการพัฒนา​องค์กรไม่หวังผลกำไร รวมถึงการสนับสนุน 3 ปัจจัยหลักได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และธร​รมาภิบาล ซึ่งผู้ลงทุนในกลุ่มนี้ จะได้รับสิทธิ์ในการนำเงินลงทุนมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้​บุคคลธรรมดา


ลงทุนในส่วนไหนได้บ้าง

อย่างที่กล่าวไปในก่อนหน้านี้ว่า TESG จะเน้นสนับสนุนองค์กรไม่แสวงผลกำไร และเกี่ยวข้อง​กับ 3 ปัจจัยหลักในแนวคิด ESG ดังนั้นนักลงทุนจึงจะสามารถลงทุนได้เฉพาะ กองทุน หุ้น​ไทยหรือตราสารหนี้ไทย ในกลุ่ม ESG อย่างเช่น ตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน ESG Bond หรือ ​หุ้นไทยยั่งยืน SET ESG Ratings เป็นต้นค่ะ



ความแตกต่างระหว่าง SSF RMF และ TESG


สามารถจำแนกได้ตามคุณสมบัติหลักดังต่อไปนี้


สินทรัพย์ที่สามารถลงทุนได้

SSF กับ RMF จะค่อนข้างเปิดกว้างในด้านการลงทุนมากกว่า เพราะรองรับการลงทุนใน​กองทุนที่หลากหลาย อีกทั้งยังไม่มีข้อจำกัดด้านการลงทุนทั้งในและต่างประเทศด้วย


ในขณะที่ TESG จะมีความเกี่ยวข้องด้านการสนับสนุนและพัฒนาองค์กรภายใน ที่ส่งผลต่อ​ความยั่งยืนของประเทศ ดังนั้นจึงสามารถลงทุนได้เฉพาะ กองทุนที่ลงทุนในหุ้นและตราสาร​หนี้ของไทยที่เข้าหลักเกณฑ์ ESG เท่านั้นค่ะ


ระยะเวลาการลงทุน

ในส่วนนี้ SSF กับ TESG จะคล้ายกันตรงที่ไม่มีการบังคับซื้อทุกปี แต่จะต่างกันเพียงการถือ​ลงทุนของ TESG จะใช้เวลาเพียง 8 ปี และ SSF ทั้งสิ้น 10 ปี นับจากวันซื้อ


ส่วน RMF ที่จัดทำขึ้นเพื่อชีวิตหลังเกษียณ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีข้อกำหนดมากกว่า ​โดยจะต้องถือยาวต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปี และต้องซื้อต่อเนื่องกันขั้นต่ำเป็นเวลา 5 ปีค่ะ


สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

SSF จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปี และไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งหาก​รวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท


RMF จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปี และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการ​เกษียณอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท


ส่วน TESG จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปี และไม่เกิน 100,000 บาท ​โดยไม่รวมอยู่ในส่วนของกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ 500,000 บาทค่ะ


แม้จะลดหย่อนภาษีในปริมาณเท่ากัน แต่รายละเอียดและคุณสมบัติเฉพาะตัว กลับทำให้ความ​เหมาะสมของแต่ละกองทุนมีความแตกต่างออกไป จะเห็นได้ชัดสุดก็คือระยะเวลาการลงทุน ​ดังนั้นผู้สนใจจึงควรไตร่ตรอง และศึกษาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจด้วยนะคะ


Copyright © 2022 MoneyMentor.biz. All rights reserved.

LinkedIn Logo 蓝白领英社交媒体
White Facebook Logo Social Media Icon
Camera Instagram Vector Icon