Back

วางแผนการเงินอย่างมืออาชีพ ​ด้วยแนวคิดแบบ ปิรามิด


กุญแจสู่ความสำเร็จมักเริ่มต้นด้วยการวางแผนเสมอ โดยทักษะวางแผนทางการเงิน ถือเป็น​เรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรมี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นนักธุรกิจแต่ความสามารถนี้ก็จะช่วยให้คุณ​สร้างความมั่นคงในชีวิต พร้อมลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อความล้มเหลวด้านการบริหารเงิน​ภายในชีวิตได้นั่นเองค่ะ


ปิรามิด สุดยอดเครื่องมือวางแผนทางการเงิน


ในวงการด้าการเงินนักวางแผนส่วนมากจะยึดหลักการวางแผนทางการเงินด้วย “ปิรามิด​ทางการเงิน” (Financial Planning Pyramid) ที่เรียงลำดับความสำคัญก่อนและหลัง โดย​หัวข้อที่อยู่ข้างล่างสุด คือสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อสร้างรากฐานอันมั่นคงเป็นอันดับแรก จากนั้น​จึงต่อยอดพัฒนาในเรื่องอื่น ๆ จนมีความแข็งแกร่ง


ขั้นที่ 1. บริหารรายรับรายจ่าย และ จัดการความเสี่ยง

การบริหารรายรับรายจ่าย ก็เปรียบได้เหมือนกับการสำรวจตนเองว่ามีความแข็งแรงมากน้อย​แค่ไหน โดยแบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายจำเป็น ค่าใช้จ่ายเพื่อคามสุข การเก็บเงินออมสำรอง​ฉุกเฉน การเก็บเงินเพือนำไปลงทุน และ หนีสิน ซึงกรเก็บเงินฉุกเฉินนันถือเป็นแผนรับมือ​ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยควรเก็บให้ได้อย่างน้อย 3 – 6 เท่าของเงินเดือน ​และจะต้องเก็บในแหล่งที่มีสภาพคล่องสูง ไม่ติดขัดเวลาต้องการนำออกมาใช้


ขั้นที่ 2. สร้างเกราะป้องกันความเสี่ยง

นอกจากการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว การทำประกันก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรมีเผื่อไว้ ​เพื่อไม่ให้กระทบกับแผนการเงิน และสามารถตั้งรับปัญหาขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่​มักมาในรูปแบบของ อุบัติเหตุ หรือ โรคร้าย รวมถึงอนาคตเมื่อต้องเกษียณจากการทำงาน ​และไม่ได้รับผลประโยชน์จากประกันกลุ่มอีกต่อไป ฉะนั้นการลงทุนกับประกันึงเป็นเรืงทีคุม​ค่าหากมันไม่เป็นภาระกับคุณมากจนเกินไป อีกทั้งยังมีประกันหลายตัวที่มีสิทธิประโยชน์ และ​เงื่อนไขอันยืดหยุ่น ทำให้สามารถเลือกในแบบที่เข้ากับเราได้


ขั้นที่ 3. เก็บออมเงินเพื่อการลงทุน

2 ขั้นตอนที่ผ่านมาจะเกี่ยวข้องกับการวางรากฐานที่แข็งแรงให้กับการเงินของตนเอง ทีนี้ก็​ถึงเวลาที่จะสร้างอนาคตให้เป็นจริงแล้ว โดยควรเก็บออมแบบแบ่งเป้าหมายเป็น 3 ระดับ​ได้แก่


1.เป้าหมายระยะสั้น

การเก็บเงินเตรียมใช้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีข้างหน้า อย่างเช่น ใช้เป็นทุนการศึกษา ค่าเดิน​ทางต่างประเทศ หรือ เก็บเงินซื้อรถ หากจะลงทุนในสินทรัพย์ก็ควรเป็นแบบที่มีความเสี่ยงต่ำ ​- ปานกลาง อาทิ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ บัญชีฝากประจำ


2.เปาหมายระยะกลา

เก็บเงินใช้ในะยะเวลา 3-7 ปีข้างหา อย่างกาเก็บเินเปิดกิการ ซื้อบ้าน แต่งงาน และ​สร้างครอบครัว หากเป็นการลงทุน ควรลงทุนในระดับความเสี่ยงปานกลาง อย่างเช่น ​กองทุนรวมตราสารหนี้


3.เป้าหมายระยะยาว

เก็บเงินใช้ในระยะเวลา 7 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนสำหรับการเกษียณ และเพราะ​ใช้เวลานาน ดังนั้นจึงเหมาะแก่การลงทุนกับ ประกันบำนาญ ทองคำ กองทุนรวมหุ้น หรือ ​อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น


ขั้นที่ 4.วางแผนภาษี

เพราะภาษีเป็นข้อบังคับที่ทุกคนต้องจ่ายตามกฎหมายกำหนด ดังนั้นเราจึงควรคำนึงถึงเรื่อง​นี้ให้ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา โดยวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีด้วยกัน​ดังต่อไปนี้


คำนวณเงินได้สุทธิ

รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ


เทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได

( เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า ) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้า​สูงสุด = ภาษีที่ต้องจ่าย หรือได้คืน


นอกจากนี้ก็ยังมีช่องทางลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี ที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลอีก​มากมาย ทั้งเกิดจากการลงทุน หรือ การบริจาค ให้สามารถนำไปใช้ยื่นเพื่อรับสิทธิประโยชน์ได้​อีกด้วย


ขั้นที่ 5.วางแผนส่งต่อมรดก

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวางแผนทางการเงินที่แข็งแรง เพื่อส่งมอบโอกาสให้คนรุ่น​หลังได้นำไปทำประโยชน์ต่อ ซึ่งเริ่มได้จากการสำรวจทรัพย์สมบัติที่ครอบครองอยู่ จากนั้นก็​ทำพินัยกรรม และวางแผนเรื่องภาษีมรดก เพื่อไม่ให้สร้างผลกระทบต่อคนที่เรารักนั่นเองค่ะ


แน่นอนว่าทุกขั้นตอนที่เรากล่าวมา อาจไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าหากไม่มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการ​บริหารจัดการ การลงทุน และข้อกฎหมายทางด้านภาษี แต่ท่านสามารถเริ่มต้นแบบค่อยเป็น​ค่อยไป ใช้การศึกษาระหว่างทาง รวมถึงหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความซับซ้อนสูง ก็จะทำให้​เส้นทางการวางแผนของคุณปลอดภัยและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น หรืออาจจะใช้วิธี​เข้ารับบริการให้คำปรึกษาวางแผนการเงิน พร้อมกับสอนวิธีใช้เครื่องมือวางแผนที่มี​ประสิทธิภาพ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำเหมือนกันค่ะ


Copyright © 2022 MoneyMentor.biz. All rights reserved.

LinkedIn Logo 蓝白领英社交媒体
White Facebook Logo Social Media Icon
Camera Instagram Vector Icon